This isn't an official website of the European Union

หน้านี้แสดงข้อมูลโดยสังเขปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรป (EU) และประเทศไทยในด้านต่าง ๆ เช่น ความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และการค้า ความร่วมมือทางการเงิน และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

ความสัมพันธ์ทางการเมือง

หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562   คณะรัฐมนตรีซึ่งมาจากรัฐบาลผสมหลายพรรคได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562  

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2562  สภาการต่างประเทศของสหภาพยุโรปมีมติร่วมกันว่าถึงเวลาเหมาะสมแล้วที่จะกระชับความสัมพันธ์กับประเทศไทยในมิติต่างๆ  เช่น ด้านสิทธิมนุษยชน เสรีภาพขั้นพื้นฐาน และพหุนิยมประชาธิปไตย

นับแต่นั้นมา ทั้งสองฝ่ายจึงได้รื้อฟื้นการเจรจาเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ (PCA) ซึ่งจะสร้างกรอบการทำงานที่ครอบคลุม และช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจ

ความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจ

ใน.. 2564 การค้าระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทยมีมูลค่า 3.54 หมื่นล้านยูโร (หรือประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท) ทำให้สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของไทย

สหภาพยุโรปเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของไทย ใน..2564 การส่งออกจากประเทศไทยไปยังสหภาพยุโรปมีมูลค่ารวมประมาณ 2.21 หมื่นล้านยูโร (หรือประมาณ 8.16 แสนล้านบาท)

สหภาพยุโรป คือผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดอันดับสามของประเทศไทย ใน.. 2564 การนำเข้าทั้งหมดจากสหภาพยุโรปมาสู่ประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 13,300 ล้านยูโร (หรือประมาณ 4.91 แสนล้านบาท)

จากตัวเลขใน.. 2564 สินค้าที่ถูกส่งออกจากประเทศไทยไปยังสหภาพยุโรป ได้แก่

  • เครื่องจักรและเครื่องใช้กล (26.4% ของการส่งออกทั้งหมดจากประเทศไทย)
  • เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า (23%)
  • ยานยนต์และชิ้นส่วน (8.7%)
  • ผลิตภัณฑ์ยาง (8.2%)
  • อัญมณีและเครื่องประดับ รวมทั้งโลหะมีค่า (5.4%)
  • ออพติคัล การถ่ายภาพ การวัด การตรวจสอบ ความเที่ยงตรง และเครื่องมือแพทย์หรือศัลยกรรม (5.1%)
  • สิ่งทอและเสื้อผ้า (3.4%)
  • ผลิตภัณฑ์พลาสติก (2.3%)
  • ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และอาหารทะเล (1.9%)

สินค้าส่งออกสำคัญของสหภาพยุโรปมายังประเทศไทย ได้แก่

  • เครื่องจักรและเครื่องใช้กล (18.4% ของการส่งออกทั้งหมดไปยังประเทศไทย)
  • เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า (13.6%)
  • ผลิตภัณฑ์ยา (8.7%)
  • สารเคมี (6.9%)
  • ยานยนต์และชิ้นส่วน (6.5%)
  • ออพติคัล การถ่ายภาพ การวัด การตรวจสอบ ความเที่ยงตรง และเครื่องมือทางการแพทย์หรือศัลยกรรม (5.3%)
  • อัญมณีและเครื่องประดับ รวมทั้งโลหะมีค่า (3.8%)
  • ผลิตภัณฑ์พลาสติก (3.6%)
  • เหล็กและเหล็กกล้า (1.9%)
  • หนังเฟอร์ (1.8%)
  • ผลิตภัณฑ์ยาง (1.8%)
  • เครื่องบินและชิ้นส่วน (1.8%)

เพื่อทำให้ความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น สหภาพยุโรปและประเทศไทยได้เปิดการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) เมื่อเดือนมีนาคม .. 2556 โดยทั้งสองฝ่ายต้องการข้อตกลงที่ครอบคลุมในด้านต่าง อาทิ

  • ภาษีการค้าและมาตรการอื่นนอกเหนือจากภาษีการค้า
  • การบริการ
  • การลงทุน
  • การจัดซื้อสาธารณะ
  • ทรัพย์สินทางปัญญา
  • การปฏิรูปกฎระเบียบและข้อบังคับในการดำเนินธุรกิจ และ
  • การพัฒนาอย่างยั่งยืน

การเจรจาได้ถูกระงับในเดือนเมษายน .. 2557 และหลังจากที่สภาการต่างประเทศของสหภาพยุโรปได้ลงมติให้รื้อฟื้นความสัมพันธ์กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม .. 2562 ทั้งสองฝ่ายจึงได้ดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเริ่มการเจรจาใหม่บนพื้นฐานของความเข้าใจร่วมกันว่า  FTA ฉบับใหม่นี่จะมีเป้าหมายที่สูงส่งและครอบคลุม

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566 สหภาพยุโรปและประเทศไทยได้ประกาศเริ่มต้นการเจรจาอีกครั้ง สำหรับข้อตกลงการค้าเสรี ที่มีความมุ่งมั่น ทันสมัย ​​และสมดุล โดยมีความยั่งยืนเป็นแกนกลาง การประกาศครั้งนี้ยืนยันถึงความสำคัญอย่างยิ่งของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกต่อประเด็นการค้าของสหภาพยุโรป ซึ่งจะเบิกทางไปสู่ความสัมพันธ์ทางการค้าที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับประเทศไทย ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นของการมีส่วนร่วมเชิงยุทธ์ศาสตร์ของสหภาพยุโรปในภูมิภาคที่กำลังขยายตัวนี้

ติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาได้ที่นี่ https://policy.trade.ec.europa.eu/eu-trade-relationships-country-and-region/countries-and-regions/thailand/eu-thailand-agreement_en

ฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ

ฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศของสหภาพยุโรปในประเทศไทยมีหน้าที่หลักในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสหภาพและประเทศไทยในด้านของนโยบายความร่วมมือและการพัฒนาที่ยั่งยืน และเรามุ่งที่จะพัฒนาความร่วมมือภายใต้กรอบนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศของสหภาพยุโรปใน 5 ด้านหลักด้วยกัน ได้แก่ ด้านการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและการเข้าสู่โลกดิจิทัล ด้านการสร้างงานและการเติบโตอย่างยั่งยืน ด้านการย้ายถิ่นฐานและแก้ไขปัญหาการอพยพ ด้านการปกครอง สันติภาพ ความมั่นคง และพัฒนาการด้านมนุษย์  

ฝ่ายของเรามีเป้าหมายหลักในการช่วยรับมือกับปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำ โดยการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงโอกาสกับทุกคน สร้างสังคมที่ยั่งยืน ส่งเสริมประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และหลักกฎหมาย  

เราสนับสนุนประเทศไทยในการดำเนินงานตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเราได้มีการปรับโครงการของเราให้ตอบสนองความต้องการของประเทศไทย ภายใต้หลักของความร่วมมือแบบพยุภาคี โดยเฉพาะตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติและความตกลงปารีสด้านสภาพภูมิอากาศ โดยในปัจจุบันเราได้ร่วมมือกับหลายฝ่ายในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไทย สถาบันวิจัย สหประชาชาติ ภาคประชาสังคมและหน่วยงานเอกชนที่มีเป้าหมายเดียวกัน 

สิ่งที่เราเน้นย้ำเป็นพิเศษคือการเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศ เสริมสร้างพลังของสตรีและเยาวชน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โครงการของสหภาพยุโรปในประเทศไทยมีอยู่ทั่วประเทศรวมถึงจังหวัดในชายแดนภาคใต้ และในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด 19 เรามีโครงการเพื่อยกระดับการรับมือและการฟื้นฟูสังคมหลังการระบาดโดยมุ่งไปที่การให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเปราะบางในสังคม  

โกลบอลเกตเวย์ (Global Gateway)

โกลบอลเกตเวย์ (Global Gateway) เป็นโครงการข้อเสนอการลงทุนที่มีคุณภาพของสหภาพยุโรป (EU) ที่มอบให้แก่ประเทศพันธมิตรทั่วโลก โดยเป็นการประสานผลประโยชน์ของพันธมิตรเข้ากับผลประโยชน์เชิงภูมิรัฐศาสตร์ของสหภาพยุโรป โครงการนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วมของสหภาพยุโรปเพื่อช่วยลดช่องว่างการลงทุนระดับโลก ไปพร้อมกับการเปลี่ยนผ่านสีเขียวและการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลที่มีความเป็นธรรมและครอบคลุมนอกเขตแดนของยุโรป อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทานระดับโลกอีกด้วย

โกลบอลเกตเวย์เป็นวิธีการเชื่อมโยงยุโรปกับพันธมิตรทั่วโลกบนพื้นฐานของความไว้วางใจ ความยั่งยืน และผลประโยชน์ร่วมกัน โดยมีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พร้อมกับเสนอความร่วมมือที่เคารพซึ่งกันและกัน มีคุณภาพ เป็นแนวราบ และเท่าเทียมกัน แก่ประเทศพันธมิตร ซึ่งสอดคล้อมกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDG) และความตกลงปารีส (Paris Agreement) โกลบอลเกตเวย์ส่งเสริมความเชื่อมโยงทอัจฉริยะ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมั่นคงในภาคส่วนดิจิทัล การคมนาคม พลังงาน และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ รวมถึงเสริมสร้างเครือข่ายด้านการศึกษา การวิจัย และการสาธารณสุข นอกจากนี้ยังชส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ (Hard Infrastructure)ผ่านการพัฒนาสภาพแวดล้อม กระบวนการและกฎระเบียบ บรรทัดฐานและมาตรฐาน  ที่เอื้อต่อ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ

การลงทุนของสหภาพยุโรป ในภาคส่วนหลักต่างๆ มีความเชื่อมโยงต่อการพัฒนามนุษย์และสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านดิจิทัล พลังงาน คมนาคม สาธารณสุข และการศึกษา ซึ่งล้วนแล้วแต่ มีส่วนช่วยในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและความตกลงปารีส ทั้งในประเทศพันธมิตรและในยุโรป

โกลบอลเกตเวย์จะเคารพและส่งเสริมมาตรฐานสากลด้านการคุ้มครองแรงงานและสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่ รวมถึงหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ซึ่งทำให้แนวทางโดยรวมของโครงการนี้มีเอกลักษณ์และหลอมรวมการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจนกับประเทศพันธมิตร โกลบอลเกตเวย์มุ่งระดมการลงทุนสูงถึง 3 แสนล้านยูโรทั่วโลก ระหว่างปี .. 2021 ถึง .. 2027 โดยใช้หลายมาตรการรวมถึงการให้เงินช่วยเหลือให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และการค้ำประกัน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนของภาคเอกชนมีการหารือโครงการภายใต้โกลบอลเกตเวย์กับประเทศพันธมิตรเพื่อตัดสินใจร่วมกัน ว่าข้อเสนอการลงทุนนี้จะสร้างประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร เพื่อให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมต่อที่จำเป็น

โกลบอลเกตเวย์ดำเนินการผ่านแนวทางทีมยุโรป (Team Europe) ที่ระดมการมีส่วนร่วมจากทุกสถาบันของ สหภาพยุโรป ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป สถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาของประเทศสมาชิก และหน่วยงานสินเชื่อเพื่อการส่งออก ธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรปธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนายุโรป และภาคเอกชนในยุโรป การระดมเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โกลบอลเกตเวย์สามารถตอบสนองต่อความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญลำดับต้นของประเทศพันธมิตร ในขณะเดียวกันได้สร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับภาคเอกชนของยุโรปที่ดำเนินการในต่างประเทศด้วย

ธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรป (EIB) เป็นพันธมิตรหลักในโครงการโกลบอลเกตเวย์ ซึ่งสะท้อนถึงความเป็นเจ้าของธนาคารโดยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและความสอดคล้องทางนโยบายของสหภาพยุโรป พร้อมกับการสนับสนุนจากการค้ำประกันเฉพาะของ EFSD+ (ประมาณ 2 ใน 3 ของการค้ำประกัน EFSD+) โครงสร้างที่เปิดกว้างของ EFSD+ ยังทำให้ตัวแสดงอื่นๆ ในทีมยุโรปสามารถมีส่วนร่วมอย่างเกิดผลลัพธ์ภายใต้โครงการของโกลบอลเกตเวย์ได้ด้วยจนถึงปัจจุบัน มีการลงนามข้อตกลงกับธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรป เซึ่งระดมทุนได้มากกว่า 30,000 ล้านยูโร เพื่อส่งเสริมการลงทุนในภาคเอกชนและภาครัฐในโครงการของโกลบอลเกตเวย์ ข้อตกลงเหล่านี้เป็นก้าวสำคัญในการดำเนินยุทธศาสตร์โกลบอลเกตเวย์ของสหภาพยุโรปและบรรลุผลลัพธ์ด้านการพัฒนา โดยเปิดโอกาสให้ธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรป เพิ่มการลงทุนทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนในภาคส่วนสำคัญต่างๆ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล สภาพภูมิอากาศและพลังงาน การคมนาคม การสาธารณสุข การวิจัย และการศึกษาในประเทศพันธมิตรสถาบันการเงินอื่นๆ เช่น ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนายุโรป ธนาคารแห่งชาติ และหน่วยงานด้านสินเชื่อ ยังมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการลงทุนจากภาคเอกชนอีกด้วย

ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

  • ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับยุโรปมากขึ้นเรื่อยๆ โดยสหภาพยุโรปตั้งใจที่จะเพิ่มการมีส่วนร่วมในภูมิภาคนี้ เพื่อสร้างความเป็นหุ้นส่วนที่สนับสนุนกติการะหว่างประเทศที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย  จัดการกับความท้าทายระดับโลก และวางรากฐานสำหรับการพัฒนาที่รวดเร็ว เป็นธรรม และยั่งยืน ความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจจึงเป็นองค์ประกอบหลักของความร่วมมือนี้ในช่วงเวลาที่ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกกำลังเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง แต่ยังคงประสบปัญหาช่องว่างด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ ดังนั้นโกลบอลเกตเวย์จึงเป็นความคิดริเริ่มที่มาจากผลประโยชน์ที่มีร่วมกัน และมีศักยภาพในการสร้างผลลัพธ์ระดับสูงในบริบทนี้ สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านยุทธศาสตร์เพื่อความร่วมมือในอินโด-แปซิฟิก (Strategy for Cooperation in the Indo-Pacific) และโกลบอลเกตเวย์  การมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในระดับท้องถิ่นด้วยโครงการและความริเริ่มที่เป็นรูปธรรมที่ตอบสนองต่อประเด็นที่พันธมิตรของสหภาพยุโรปให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ เป็นการเพิ่มอิทธิพลเชิงบวกของสหภาพยุโรปในภูมิภาค การประชุมรัฐมนตรีสหภาพยุโรป-อินโดแปซิฟิก (EU-Indo Pacific Ministerial Forum) ครั้งล่าสุด ได้ตอกย้ำความสำคัญของการเสริมสร้างความร่วมมือร่วมกันเพื่อปฏิบัติการโครงการโกลบอลเกตเวย์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อพันธมิตรของเราในภูมิภาคนี้โกลบอลเกตเวย์และยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกเป็นกรอบการทำงานที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยมีการจัดลำดับความสำคัญร่วมกัน รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านสีเขียวและดิจิทัล และการเชื่อมต่อ ล้วนเป็นประเด็นที่สำคัญและโดดเด่นของการดำเนินงานของสหภาพยุโรป ซึ่งส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคง ทั้งยังมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและข้อตกลงปารีสด้วย
  • ในความสัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเน้นความร่วมมือแบบหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ การหารือทางการเมืองในระดับสูง และความร่วมมือด้านดิจิทัล ดังนั้ นสหภาพยุโรปจะสร้างความต่อเนื่องในการพัฒนาด้านดิจิทัลที่สำคัญ โดยเอเชียมีความต้องการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และเทคโนโลยีที่ปลอดภัย ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ หลายประเทศยังคงมีการพัฒนาดิจิทัลและการครอบคลุมในระดับที่ยังต่ำ และต้องการการขยายตัวที่มั่นคงในแนวทางการทำงานแบบทีมยุโรปนั้น สหภาพยุโรปได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันการเงิน หน่วยงานสินเชื่อเพื่อการส่งออก ภาคเอกชน และตัวแสดงระดับภูมิภาคและระดับโลกที่มีความคิดคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้สหภาพยุโรปจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายทางดิจิทัลที่ปลอดภัยและเพียงพอ ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนด้านความรู้ทางเทคนิคสำหรับแนวทางปฏิบัติของกฎระเบียบที่ดีและนวัตกรรมดิจิทัลในภาคส่วนต่าง (สาธารณูปโภคแล เมืองอัจฉริยะ) และทักษะด้านดิจิทัลสำหรับการเชื่อมต่อข้ามพรมแดนที่ปลอดภัยและไร้รอยต่อทั้งในภูมิภาคและระหว่างสหภาพยุโรปกับอินโด-แปซิฟิก
  • เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เปราะบางที่สุดในโลก ที่ได้รับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมถึงเป็นพื้นที่ที่มีการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การตัดไม้ทำลายป่า และมลพิษ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่และมีความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนมากยังคงตอบสนองความต้องการพลังงานด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างไรก็ตาม ชนชั้นกลางที่กำลังเติบโตของภูมิภาคนี้ได้เริ่มแสวงหาทางเลือกอื่นที่ยั่งยืนมากขึ้น
  • ภายใต้ความร่วมมือกับอาเซียน สหภาพยุโรปได้ริเริ่มสองโครงการของทีมยุโรป ถือเป็นโครงการสำคัญของโกลบอลเกตเวย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนในการประชุมสุดยอดอียู-อาเซียนเมื่อเร็ว นี้ โดยส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสีเขียวและการเชื่อมต่อที่ยั่งยืน โครงการ Copernicus Philippines ว่าด้วยการสังเกตการณ์โลกเพื่อการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ซึ่งจะจัดตั้งสถานีเฝ้าสังเกตการณ์แห่งชาติ ส่งเสริมทักษะดิจิทัล และดำเนินกิจกรรมสร้างขีดความสามารถของสำนักงานอวกาศฟิลิปปินส์ (Philippines Space Agency)
  • ความร่วมมือเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างเป็นธรรม (Just Energy Transition Partnerships) กำลังอยู่ระหว่างการเตรียมการภายใต้กรอบความร่วมมือ G7 กับอินโดนีเซียและเวียดนาม รวมถึงกรอบความเป็นหุ้นส่วน G7 เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้วย
  • เอเชียใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการรวมตัวกันน้อยที่สุดในเอเชีย แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นอนุภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดด้วย โกลบอลเกตเวย์จะมีส่วนสำคัญต่อการช่วยผลิตและส่งพลังงานไฟฟ้าสีเขียว จากเทือกเขาหิมาลัยไปยังอินเดียและบังกลาเทศ เพื่อสนับสนุนการเลิกใช้พลังงานฟอสซิล ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และการเชื่อมต่อระดับภูมิภาคความร่วมมือด้านการเชื่อมต่อระหว่างสหภาพยุโรป-อินเดีย (The EU-India Connectivity Partnership) ได้รับการจัดการตามหลักการความยั่งยืนในขณะเดียวกัน มีความร่วมมือเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างเป็นธรรม (Just Energy Transition Partnerships) ซึ่งจะเป็นส่วนเสริมในการสนับสนุนการเชื่อมต่อพลังงานสีเขียวระดับภูมิภาค
  • ในภูมิภาคแปซิฟิก โครงการ“EU-Pacific Green Blue Alliance ของทีมยุโรปใน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิกปี .. 2050 ของเหล่าผู้นำแปซิฟิก และมีเป้าหมายในการระดมทุนเพิ่มเติมจากภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสีเขียวและดิจิทัล รวมถึงการปรับตัวและการเชื่อมต่อนอกพรมแดนของยุโรป ภายใต้แผนการด้านภูมิอากาศและการปรับตัวของโครงการนี้ โกลบอลเกตเวย์มีแผนสร้างเขื่อนพลังงานน้ำในฟิจิและก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเอนกประสงค์ในคิริบาสโครงการ Kiwa ได้ขยายกิจกรรมเพิ่มเติมในภูมิภาคแปซิฟิก โครงการนี้รับทุนสนับสนุนจากบริจาคหลายฝ่าย โดยมุ่งดึงดูดเงินทุนเพื่อแก้ปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ เพื่อสนับสนุนประเทศและเขตแดนแปซิฟิก ในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพาผ่านการใช้แนวทางแก้ปัญหาที่เน้นธรรมชาติเป็นศูนย์กลางโดยรวมแล้ว ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกยังคงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความพยายามและการดำเนินนโยบายของสหภาพยุโรป โดยมีโครงการเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงหลายโครงการที่ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินการในปี .. 2023 และในอนาคต

ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

สหภาพยุโรปมีสำนักงานในกรุงเทพฯ ซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนโครงการด้านมนุษยธรรมของสหภาพยุโรป ทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

การปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมของสหภาพยุโรปในประเทศไทยเริ่มขึ้นในพ.ศ. 2538 และได้ดำเนินการรับมือกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ มากมายทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและเกิดจากกระทำของมนุษย์ ทุนสนับสนุนสำหรับกิจกรรมในด้านนี้มีมูลค่าทั้งหมดเกือบ 120 ล้านยูโร

ในขณะที่ความช่วยเหลือส่วนมากในด้านนี้ นำไปสู่การให้ความช่วยเหลือผู้อพยพชาวพม่าที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยต่าง ๆ ตามแนวชายแดนของประเทศไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมา ในปัจจุบัน  เรามุ่งที่จะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกับผู้ที่อพยพและผู้หนีภัยสู้รบเข้ามาในประเทศไทย เพื่อตอบสนองต่อจำนวนผู้ต้องการหนีภัยมายังประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา โครงการความช่วยเหลือในปัจจุบันได้แก่ การให้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือด้านสุขอนามัยแก่ผู้อพยพชาวโรฮีนจาที่อาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงทั่วประเทศ และเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด 19 เราได้จัดเตรียมอุปกรณ์ในการป้องกันการระบาดให้แก่ผู้อพยพด้วย ในขณะเดียวกัน เราได้มีการจัดสัมมนาและโครงการที่จะช่วยยับยั้งการระบาดของโควิด 19 รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบในแง่ลบของโควิด 19 ต่อชาวโรฮีนจาและผู้อพยพคนอื่น ๆ

เนื่องจากภาคใต้ของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านความขัดแย้งที่กินเวลายาวนาน การระบาดของโควิด 19 และภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ  สหภาพยุโรปจึงร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรด้านมนุษยธรรมเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดในสังคมเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติ และวิกฤติต่าง ๆ   เป้าหมายโดยรวมของเราคือการสนับสนุนให้ประเทศไทยเสริมสร้างขีดความสามารถที่จะเตรียมพร้อมรับมือและตอบสนองต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยคำนึงถึงการปกป้องเด็กและเยาวชนในช่วงวิกฤติ

นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น ช่วงที่มีภัยพิบัติทางธรรมชาติ เมื่อเกิดเหตุการณ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดียปีพ.. 2547 และอุทกภัยในปีพ.ศ. 2554