This isn't an official website of the European Union

ยุโรปเป็นทวีปที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปเองต่างก็มีวัฒนธรรม อาหารการกิน และการดำเนินชีวิตที่หลากหลาย นอกจากนี้ ยุโรปยังมีมาตรฐานการศึกษาที่เป็นเลิศและเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก ในแต่ละปีนักเรียนจากหลากหลายประเทศจำนวนมากได้เข้ามาศึกษาในยุโรป

สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับการไปท่องเที่ยว และเรียนต่อในสหภาพยุโรปได้ที่นี่

วีซ่า

วีซ่าเชงเก็น

วีซ่าเชงเก็น 

  • วีซ่าเชงเก็นคืออะไร? 

ปัจจุบัน เขตเชงเก็นประกอบด้วยประเทศในยุโรป 26 ประเทศ ในจำนวนนี้มี 22 ประเทศที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ทั้ง 26 ประเทศนี้มีนโยบายด้านวีซ่าร่วมกัน ซึ่งหมายความว่า จะไม่มีการขอตรวจวีซ่าที่ชายแดนของแต่ละประเทศ 

“ประเทศเชงเก็น” ทั้ง 26 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยี่ยม สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส สโลวัก สโลวีเนีย สเปน และสวีเดน และอีกสามประเทศนอกสหภาพยุโรปได้แก่ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ 

บุคคลที่ได้รับวีซ่าเชงเก็นสำหรับประเทศที่กล่าวไว้ข้างต้น จะสามารถเดินทางได้โดยเสรีไปยัง 26 ประเทศเชงเก็นโดยไม่ต้องขอวีซ่าสำหรับประเทศดังกล่าวแต่ละประเทศ

  • มีวีซ่าเชงเก็นประเภทใดบ้าง? 

วีซ่าเชงเก็นมี 3 ประเภท ได้แก่: 

  • วีซ่าพำนักระยะสั้น (ประเภท "C") วีซ่าประเภทนี้จะออกให้กับการเดินทาง 1 ครั้ง 2 ครั้ง หรือหลายครั้ง โดยมีระยะเวลาที่อนุญาตให้พำนักแตกต่างกันออกไป แต่ไม่เกิน 3 เดือนในช่วงเวลา 6 เดือน    

  • วีซ่าเดินทางผ่าน (ประเภท "B”) วีซ่าประเภทนี้จะออกให้กับบุคคลซึ่งเดินทางผ่านประเทศเชงเก็นประเทศใดประเทศหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งประเทศก่อนจะเดินทางต่อไปยังประเทศที่สาม วีซ่าประเภทนี้จะออกให้สำหรับการเดินทางผ่าน 1 ครั้ง 2 ครั้งหรือมากกว่านั้นในกรณีพิเศษ ทั้งนี้ ระยะเวลาในการเดินทางผ่านแต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน 5 วัน 

  • วีซ่าแวะเปลี่ยนเครื่องที่สนามบิน (ประเภท "A") พลเมืองจากประเทศนอกเขตเชงเก็นบางประเทศที่ต้องการเดินทางโดยเครื่องบินไปยังประเทศที่สาม และต้องการแวะเปลี่ยนเครื่ิองที่สนามบินในเขตเชงเก็นจะต้องขอวีซ่าแวะเปลี่ยนเครื่องที่สนามบิน 

ทั้งนี้ พลเมืองจากประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกประเทศเชงเก็นจะต้องใช้วีซ่าทั้งสามประเภทเหมือนกัน

  • ขอวีซ่าเชงเก็นได้ที่ไหน?

ท่านสามารถยื่นใบสมัครขอวีซ่าเชงเก็นได้จากสถานทูตของประเทศเชงเก็นใดก็ได้ในภูมิภาคของท่าน 

บุคคลสัญชาติไทยจะต้องได้รับวีซ่าเพื่อที่จะเดินทางเข้าสู่เขตเชงเก็น

หากท่านมีแผนที่จะเที่ยวในยุโรปมากกว่า 1 ประเทศ ท่านสามารถยื่นใบสมัครขอวีซ่าจากสถานทูตประเทศที่ท่านวางแผนจะพำนักนานที่สุด ในกรณีที่ไม่ชัดเจนว่าท่านพำนักอยู่ในประเทศใดนานที่สุด ท่านสามารถยื่นใบสมัครขอวีซ่าเชงเก็นได้จากสถานทูตของประเทศที่ท่านจะเดินทางไปถึงเป็นประเทศแรก

  • ในการขอวีซ่าเชงเก็นจะต้องทำอย่างไรบ้าง? 

ข้อกำหนดขั้นต่ำในการขอวีซ่าเชงเก็นมีดังนี้: 

  • กรอกใบสมัครและลงนามในใบสมัครขอวีซ่า ซึ่งท่านสามารถดาวน์โหลดใบสมัครจากอินเตอร์เน็ตได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 

  • ถือครองหนังสือเดินทางที่มีอายุการใช้งานเกินกว่าช่วงเวลาที่ท่านจะพำนักอยู่ในประเทศเชงเก็น

  • ระบุวัตถุประสงค์การเดินทาง 

  • สามารถแสดงให้เห็นว่ามีทรัพย์สินเพียงพอต่อการใช้จ่ายในช่วงที่พำนัก 

  • มีประกันภัยการเดินทางโดยมีวงเงินประกันอย่างน้อย 30,000 ยูโร 

  • มีค่าธรรมเนียมในการยื่นขอวีซ่าเท่าไร? 

ค่าธรรมเนียมสำหรับวีซ่าพำนักระยะสั้นอยู่ที่  80  ยูโร อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมในบางกรณี  

สำหรับพลเมืองของประเทศนอกสหภาพยุโรปที่มีฐานะเป็นสมาชิกครอบครัวของพลเมืองสหภาพยุโรปหรือประเทศในความตกลงเขตเศรษฐกิจยุโรป (EEA Agreement) ที่ใช้สิทธิเดินทางโดยเสรี ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 

นอกจากนั้น ยังยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี นักเรียน นักศึกษาระดับปริญญาโทและครูผู้ติดตามที่เดินทางด้วยวัตถุประสงค์ทางการศึกษาหรืออบรม และนักวิจัยที่กำลังทำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ตามที่นิยามไว้ใน Recommendation 2005/761/EC 

แม้ว่าประเทศบัลแกเรีย โครเอเชีย ไซปรัส ไอร์แลนด์ และโรมาเนียจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเขตเชงเก็น แต่ประเทศเหล่านี้อนุญาตให้บุคคลต่างชาติที่มีวีซ่าเชงเก็นเดินทางเข้าประเทศได้ หากท่านต้องการเดินทางเข้าประเทศเหล่านื้ กรุณาตรวจสอบกฎเกณฑ์การเข้าเมืองของแต่ละประเทศ 

ท่านสามารถติดต่อสถานทูตประเทศที่จะเดินทางไปเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม สำหรับรายนามสถานทูตประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปในภูมิภาค  สามารถดูได้จากลิงก์ “สถานทูต” 

คณะผู้แทนสหภาพยุโรปไม่มีหน้าที่ออกวีซ่า การออกวีซ่าเป็นความรับผิดชอบของประเทศสมาชิก 

สถานทูต

รายนามสถานทูตประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปในภูมิภาคตามนี้

ออสเตรีย

สถานทูตออสเตรีย

14 ซอยนันทา ถนนสาทรใต้ ซอย 1 กรุงเทพ 10120

โทรศัพท์ +66 (0) 2 105 67 10

อีเมล์ [email protected]

เว็บไซต์: https://www.bmeia.gv.at

เบลเยี่ยม

สถานทูตเบลเยี่ยม

ชั้น 16 อาคารสาทร สแควร์

98 ถนนสาทรเหนือ

แขวง สีลม เขต บางรัก

กรุงเทพมหานคร 10500

โทรศัพท์ +66 (0) 2108 1800

โทรสาร: +66 (0) 2108 1808

อีเมล์: [email protected]

เว็บไซต์: https://thailand.diplomatie.belgium.be/en

บัลแกเรีย

ครอบคลุมโดย สถานทูตประจำประเทศสาธารณรัฐบัลแกเรีย ณ กรุงฮานอย

5 Nui Truc Street, Van Phuc

ฮานอย, เวียดนาม, P.O. Box 10

โทรศัพท์ +84 (4) 3845 2908

โทรสาร +84 (4) 3846 0856

อีเมล [email protected]

เว็บไซต์: https://www.mfa.bg/

โครเอเชีย

ครอบคลุมโดยสถานทูตสาธารณรัฐโครเอเชีย

เว็บไซต์  http://www.mvep.hr/

สถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐโครเอเชีย

138/51 อาคาร อาคาร จูเวลเลอรี่ เซ็นเตอร์
ชั้น 23, ห้อง C-7
ซอยนเรศ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก
กรุงเทพฯ 10500

โทรศัพท์  +66 81 8666 855
โทรสาร +66 2 236 1451
อีเมล์:
[email protected]

ไซปรัส

ครอบคลุมโดย สถานทูตสาธารณรัฐไซปรัสประจำอินเดีย

เว็บไซต์: http://www.mfa.gov.cy/

สถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐไซปรัส

ชั้น 3 อาคารภารณี

96/14 ถนนสุขุมวิท 23
เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110
โทรศัพท์ +66 (0) 2261 8408

โทรสาร +66 (0) 2261 8410
อีเมล์:  [email protected]

[email protected]

สาธารณรัฐเช็ก

สถานทูตประจำประเทศสาธารณรัฐเช็ก
เลขที่ 71/6 ซอยร่วมฤดี2
ถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
อีเมล์: [email protected]
เว็บไซต์: http://www.mzv.cz/bangkok

เดนมาร์ก

สถานทูตประจำราชอาณาจักรเดนมาร์ก
10 ซอยสาทร 1 (อรรถการประสิทธิ์)
ถนนสาทรใต้ กรุงเทพ 10120
โทรศัพท์ +66 (0) 2343 1100

โทรสาร +66 (0) 2213 1752
อีเมล์:  [email protected] (ทั่วไป)

[email protected] (วีซ่า)
เว็บไซต์: http://thailand.um.dk

เอสโตเนีย

สถานกงสุลเอสโตเนีย
601/100 ถนน. ประชาอุทิศ

แขวง วังทองหลาง เขตวังทองหลาง

กรุงเทพมหานคร 10310

โทรศัพท์ +66 (0) 89-313-7777

โทรสาร +66 (0) 2-015-2255
อีเมล์ [email protected]
เว็บไซต์: http://www.estonia.or.th

ฟินแลนด์

สถานทูตฟินแลนด์
ชั้น 14 อาคารแอทธินี

63 ถนนวิทยุ  แขวง ลุมพินี

เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ +66 (0) 2250 8801
โทรสาร +66 (0) 2250 8802
อีเมล์:  [email protected]

เว็บไซต์: https://finlandabroad.fi/

ฝรั่งเศส

สถานทูตฝรั่งเศส
35 ซอยรองพระยาเก้า
ถนนเจริญกรุง กรุงเทพ
โทรศัพท์ +66 (0) 2657 5100
โทรสาร +66 (0) 657 5151
ติดต่อผ่านอีเมล์โดย 
https://th.ambafrance.org/-Contact-Us-694-
เว็บไซต์: https://th.ambafrance.org/

เยอรมนี

สถานทูตประจำประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
9 ถนนสาทรใต้

กรุงเทพ 10120
โทรศัพท์ +66 (0) 2287 9000

โทรสาร +66 (0) 2285 6232
ติดต่อผ่านอีเมล์โดย https://bangkok.diplo.de/th-th/botschaft/kontakt-formular
เว็บไซต์: http://bangkok.diplo.de/

กรีซ

สถานทูตประจำสาธารณรัฐเฮลเลนิก
เลขที่ 100/41 ชั้น 23,
อาคารสาทรนครทาวเวอร์, ถนนสาทรเหนือ,
แขวงสีลม, เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทรศัพท์ +662 667 0090-2
โทรสาร  +662 667 0093
อีเมล์: [email protected]

เว็บไซต์: www.mfa.gr/bangkok

ฮังการี

สถานทูตประจำประเทศฮังการี
ชั้น 14, อาคารปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์

57 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน

กรุงเทพมหานคร 10330

โทรศัพท์ +66 (0) 2661 1150-2
อีเมล์: [email protected]

เว็บไซต์: https://bangkok.mfa.gov.hu/tha

ไอร์แลนด์

สถานทูตไอร์แลนด์
ชั้น 12, ห้อง 1201

อาคาร 208 ถนนวิทยุ

แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน

กรุงเทพฯ 10330

โทรศัพท์ +66 2 016 1360
ติดต่อผ่านอีเมล์โดย https://www.dfa.ie/irish-embassy/thailand/contact-us/

เว็บไซต์: https://www.dfa.ie/irish-embassy/thailand/

อิตาลี

สถานทูตอิตาลี
ชั้น 27 และ 40, ซี อาร์ ซี เทาเวอร์ ออลซีซันส์เพลส

87 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน

กรุงเทพฯ 10330

โทรศัพท์ +66 (0) 2250 4970

โทรสาร +66 (0) 2250 4985
อีเมล์: [email protected]

เว็บตไซต์: www.ambbangkok.esteri.it

ลัตเวีย

สถานกงสุลกิตติมศักดิ์แห่งสาธารณรัฐลัตเวีย
113/13 ถนนสุรวงศ์ กรุงเทพ 10500
โทรศัพท์ +66 (0) 2237 3585

โทรสาร +66 (0) 2237 3589
อีเมล์: [email protected]

ลิทัวเนีย

ครอบคลุมโดย สถานทูตสาธารณรัฐลิทัวเนียประจำประเทศจีน

เว็บไซต์: http://cn.mfa.lt/

สถานทูตฮังการีมีความรับผิดชอบแทนในด้านกงสุล

สถานทูตเยอรมนีมีความรับผิดชอบแทนในด้านการออกวีซ่า

สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำสาธารณรัฐลิทัวเนีย
252 ถนน รัชดาภิเษก แขวง ห้วยขวาง

เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

โทรศัพท์ +66 (0) 26654190
อีเมล์: [email protected] 

ลักเซมเบิร์ก

สถานกงสุลประจำราชรัฐลักเซมเบิร์ก
อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี ชั้น 17
1 ถนนสาทรใต้
ทุ่งมหาเมฆ สาทร
กรุงเทพ 10120 ประแทศไทย
โทรศัพท์ : +66 (0) 2 677 7360
โทรสาร : +66 (0) 2 677 7364
อีเมล์: [email protected]

เว็บไซต์: http://bangkok.mae.lu/en

มอลต้า

สถานกงสุลกิตติมศักดิ์มอลต้า
76 เอกมัย 4 ถนนสุขุมวิท

เขตวัฒนา

กรุงเทพมหานคร 10110

โทรศัพท์ +66 (0) 22358990
อีเมล์: [email protected]

เนเธอร์แลนด์

สถานทูตเนเธอร์แลนด์
15 ซอยต้นสน ถนนเพลินจิต
ลุมพินี ปทุมวัน
กรุงเทพ 10330
โทรศัพท์ +66 (0) 2309 5200
โทรสาร +66 (0) 2309 5205
อีเมล์: [email protected]

เว็บไซต์: https://www.netherlandsworldwide.nl/

โปแลนด์

สถานทูตประจำประเทศสาธารณรัฐโปแลนด์
เลขที่ 605-607 ชั้น 6 อาคารแอทธินี

ถนนวิทยุ  แขวง ลุมพินี

เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

โทรศัพท์ +66 (0) 2 079 7300
โทรสาร+66 (0) 2 079 7303
อีเมล์:  [email protected] (Public Diplomacy)

[email protected] (กงสุล)เว็บไซต์: 
https://www.gov.pl/web/thailand

โปรตุเกส

สถานทูตโปรตุเกส
26 ซอยกัปตันบุช (ซอยนิวโรด 30)
นิวโรด บางรัก กรุงเทพ 10500
โทรศัพท์: +66 (0) 2234 2123, 2234 0372

โทรสาร +66 (0) 2238 4275

อีเมล์:  [email protected] (Chancery)

เว็บไซต์: https://banguecoque.embaixadaportugal
.mne.gov.pt

โรมาเนีย

สถานทูตโรมาเนีย

สำนักงาน 12D ชั้น 12 3388/41 อาคารสิรินรัตน์
ถนนพระรามสี่ คลองตัน คลองเตย
กรุงเทพ 10110 ประเทศไทย
โทรศัพท์ +66 (0)2 240 2522
โทรสาร +66 (0)2 240 2550
อีเมล์: [email protected]

เว็บไซต์: http://bangkok.mae.ro/en

สโลวาเกีย

สถานทูตประจำประเทศสาธารณรัฐสโลวาเกีย
อาคาร YWCA, ชั้น 9
ถนนสาทรใต้ 25
กรุงเทพ 10120
โทรศัพท์ +66 (0) 2677 3445-6

โทรสาร +66 (0) 2677 3447
อีเมล์: [email protected]

เว็บไซต์: https://www.mzv.sk/web/bangkok

สโลเวเนีย

ครอบคลุมโดย สถานทูตสาธารณรัฐสโลเวเนียประจำปักกิ่ง

เว็บไซต์: http://www.peking.veleposlanistvo.si/

สถานกงสุลกิตติมศักดิ์แห่งสาธารณรัฐสโลเวเนีย

 298/2 ถนนสีลม ซอย 28

กรุงเทพ 10500
โทรศัพท์ +66 (0) 2234 7637
อีเมล์: [email protected]

เว็บไซต์: http://beijing.embassy.si/en

สเปน

สถานทูตสเปน
อาคารเลครัชดาคอมเพล็กซ์
ชั้น 23 เลขที่ 98-99
193 ถนนรัชดาภิเษก คลองเตย
กรุงเทพ 10110
โทรศัพท์ +66 (0) 2661 8284-7

โทรสาร +66 (0) 2661 9220

อีเมล์: [email protected]

เว็บไซต์: http://www.exteriores.gob.es/

สวีเดน

สถานทูตสวีเดน
อาคารแปซิฟิกเพลส ชั้น 20
140 ถนนสุขุมวิท (ระหว่างซอย 4 และซอย 6)
กรุงเทพ 10110
โทรศัพท์ +66 (0) 2263 7200

โทรสาร +66 (0) 2263 7260
อีเมล์: [email protected]
เว็บไซต์: https://www.swedenabroad.se/

การศึกษา

อีราสมุสพลัส

Unlock Your Global Potential with Erasmus+

Enriching lives, opening minds!

ปลดล็อคสศักยภาพในระดับสากลกับอีราสมุสพลัส

เติมเต็มชีวิต กับความคิดที่เปิดกว้าง

 “สหภาพยุโรปคืออะไร?

สหภาพยุโรป (อียู) คือการรวมกลุ่มทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจของ 27 ประเทศในภูมิภาคยุโรป โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น สะดวกขึ้น และปลอดภัยมากขึ้นสำหรับทุกคน สหภาพยุโรปคือผู้คนและชาติที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม แต่ยึดโยงกันได้ด้วยคุณค่าสากล และมาร่วมมือกันเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองความรู้และความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อกัน

รู้จักทอีราสมุสพลัส

เคยฝันอยากไปเรียนต่อ ฝึกอบรม หรือทำงานอาสาในทยุโรปบ้างไหม อีราสมุสพลัส ช่วยทำให้ฝันของคุณเป็นจริงได้!

ทุนอีราสมุสพลัส คือเปิดประตูสู่โอกาสให้คุณได้เดินทางไปค้นพบ เรียนรู้ และเติบโตที่ทวีปยุโรป โดยเปิดโอกาสให้ผู้คนทั่วโลกได้มาพบเจอกัน ทลายข้อจำกัดต่าง และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยทั่วภาคพื้นยุโรป

ทุนอีราสมุสพลัส เป็นโครงการของสหภาพยุโรปที่มุ่งสนับสนุนการศึกษา การฝึกอบรม เยาวชน และกีฬา ในยุโรป โดยตั้งชื่อโครงการตามนักปรัชญาชาวดัชต์ที่มีชื่อเสียง เดอซิเดริอุส อีราสมุส แห่ง รอทเทอร์ดัม (Desiderius Erasmus of Rotterdam) บุคคลสำคัญผู้นี้ได้เดินทางไปทั่วยุโรปเพื่อศึกษาเล่าเรียน และสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง นอกจากนี้คำว่า Erasmus นี้ ยังเป็นตัวย่อของชื่อโครงการในภาษาอังกฤษอีกด้วย นั่นก็คือ The European Community Action Scheme for Mobility of University Students.

สหภาพยุโรปให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษา การพัฒนาเยาวชน และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม จึงได้ริเริ่มทุนอีราสมุสตั้งแต่ปี .. 2530 โครงการนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนสามารถขยายขอบเขตและความเชี่ยวชาญของโครงการให้กว้างขึ้น จนในปัจจุบันครอบครุมถึงการให้โอกาสนักศึกษาและนักวิชาการต่างชาติได้ไปศึกษาที่ยุโรปด้วย โดยรู้จักกันในชื่ออีราสมุสพลัส (Erasmus+)

ในปัจจุบัน ทุนอีราสมุสพลัส เป็นหนึ่งในทุนการศึกษาและการแลกเปลี่ยนต่างประเทศที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก

รู้หรือไม่?

1. มีผู้ได้รับทุนไปแล้วกว่า 13 ล้านคนทั่วโลก!

ทุนอีราสมุสพลัส เป็นหนึ่งในความสำเร็จสูงสุดที่น่าภาคภูมิใจของสหภาพยุโรป กว่า 30 ปีที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมโครงการไปแล้วถึง 13 ล้านคน ทั้งทุนเรียนต่อ ฝึกอบรม อาสาสมัคร และทุนสนับสนุนเพื่อต่อยอดประสบการณ์วิชาชีพที่ต่างประเทศ และใครจะรู้ คุณอาจจะเป็นคนต่อไปก็ได้!

ทุนอีราสมุสพลัส เริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงอุดมศึกษาของไทยเมื่อปี .. 2546 ต่อมาในปี .. 2547 ก็มีนักเรียนทุนชาวไทยคนแรกทได้รับทุนเพื่อไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท จนถึงปัจจุบันมีชาวไทยกว่า 2,000 คนที่ได้เข้าร่วมโครงการไปแล้ว และเส้นทางชีวิตของพวกเขาได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน

2. เปิดโอกาสด้านอาชีพ

งานวิจัยพบว่า ทุนอีราสมุสพลัส ได้ช่วยต่อยอดให้กับนักศึกษาทั้งในด้านคุณภาพชีวิตและการทำงาน ทั้งในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในต่างประเทศ ต่อเนื่องไปจนกระทั่งหลังจบการศึกษา ทุนอีราสมุสพลัส ได้ช่วยให้นักศึกษาค้นพบตัวเองว่าอยากประกอบอาชีพอะไรหลังจากจบการศึกษา และทำให้พวกเขาก้าวเข้าสู่แวดวงการทำงานได้อย่างมีความสุข

กว่า 80% ของนักศึกษาอีราสมุสพลัส ได้งานภายในช่วงระยะเวลาเพียงสามเดือนแรกหลังเรียนจบ โดย 72% ของนักศึกษากล่าวว่าประสบการณ์จากทุนอีราสมุสพลัส ช่วยให้พวกเขาได้งานแรก และเกือบครึ่งของนักศึกษาที่ฝึกงานระหว่างการเรียน มักจะได้รับการเสนอตำแหน่งงานจากบริษัทที่พวกเขาเคยไปฝึกงานด้วย!

3. อีราสมุสพลัสตัวน้อยกว่าล้านคนในประชากรโลก!

อดีตนักเรียนทุนอีราสมุสมีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์แบบข้ามชาติ เนื่องจากการได้ไปศึกษาต่อต่างประเทศทำให้มีโอกาสพบเจอผู้คนจากหลากหลายประเทศ มิตรภาพเหล่านี้อาจแนบแน่นยาวนานไปตลอดชีวิต ที่จริงแล้ว อดีตนักเรียนทุนอีราสมุสประมาณ 33% มีคู่ชีวิตต่างเชื้อชาติ เมื่อเทียบกับนักเรียนที่ไม่ได้ศึกษาต่อต่างประเทศที่จะมีโอกาสเช่นนี้เพียง 13% เท่านั้น และใครจะรู้ โชคชะตาอาจจะนำพาคู่แท้ให้มาพบกันในระหว่างที่คุณกำลังศึกษาต่ออยู่ก็ได้ เช่นเดียวกันกับนักเรียนทุนอีราสมุส อีก 27% ของเราที่ได้พบรักแท้ในระหว่างเรียน

คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) คาดการณ์ว่าตั้งแต่ปี .. 2530 เรื่อยมาจนถึงปี ..2557 อดีตนักเรียนทุนอีราสมุสพลัส ได้พบคู่ชีวิต สร้างครอบครัว และต้อนรับสมาชิกใหม่ตัวน้อย แล้วมากกว่าล้านคน!

ทำไมจึงควรเลือกทุนอีราสมุสพลัส

  • ส่งเสริมหน้าที่การงาน: ทุนอีราสมุสพลัส ช่วยสร้างโปรไฟล์ที่โดดเด่นให้กับคุณ และยังติดปีกความสามารถและความชำนาญในองค์ความรู้ที่จะทำให้คุณล้ำหน้ากว่าใครในตลาดแรงงาน โดยพบว่า 64% ของผู้ว่าจ้างจะให้ความสำคัญอย่างมากกับการมีประสบการณ์ในต่างประเทศของผู้สมัคร
  • เปิดประสบการณ์การเรียนการสอนที่แตกต่าง: การศึกษาต่อในต่างแดนจะทำให้เราเข้าใจรูปแบบการสอนของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันออกไป เมื่อได้ผ่านประสบการณ์การเรียนที่แตกต่างเหล่านี้แล้ว เราจะเริ่มมีมุมมองความคิดและโลกทัศน์ที่เปิดกว้างมากขึ้น
  • ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลง: เสริมสร้างความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมพหุวัฒนธรรม การได้รู้จักและร่วมงานกับคนจากหลากหลายประเทศทั่วโลกจะช่วยทลายความเชื่อและความเข้าใจที่ผิด ในเรื่องวัฒนธรรมที่เราอาจเคยมี เราจะได้รู้และเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องความแตกต่างของวัฒนธรรม
  • โอกาสได้ท่องโลก: เราจะได้มีโอกาสเยี่ยมเยือนสัมผัสประเทศในสหภาพยุโรปที่ร่วมให้ทุนอีราสมุส การได้ออกเดินทางคือโอกาสในการสำรวจเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ และพบเจอกับผู้คนและสถานที่แปลกตาที่เราไม่คุ้นเคย เรื่องราวที่เกิดขึ้นในระหว่างการเดินทางจึงนับเป็นความทรงจำล้ำค่าที่ยากจะลืมเลือน
  • ได้เรียนภาษาใหม่: การได้อยู่ร่วมกับคนจากชาติต่าง ในยุโรปจะทำให้เราได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาใหม่ ในชีวิตประจำวัน ทักษะทางภาษาต่างประเทศของคุณจะทะยานขึ้นอย่างแน่นอน!

มีทุนอะไรสำหรับคนไทยบ้าง?

ทุนอีราสมุสพลัส มีทั้งแบบแลกเปลี่ยนต่างประเทศระยะสั้น และแบบเรียนจบตลอดหลักสูตร

1. Erasmus Mundus Joint Masters (EMJM):  ทุนปริญญาโทตลอดหลักสูตรในยุโรป

ทุนหลักสูตรร่วมอีราสมุส มุนดุส ระดับปริญญาโท (Erasmus Mundus Joint Masters - EMJMs) เป็นทุนสำหรับเรียนต่อปริญญาโทในหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้ร่วมกันออกแบบและจัดการเรียนการสอน หลักสูตรเหล่านี้เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพสูงและยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประกาศนียบัตรร่วมหรือประกาศนียบัตรหลายฉบับจากสถาบันที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง โดยที่ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนหรือทำวิจัยในสถาบันหรือมหาวิทยาลัยได้มากกว่าสองแห่ง หมายความว่านักเรียนทุนจะสามารถไปเรียนได้อย่างน้อยถึงสองประเทศในยุโรป

และสำหรับนักศึกษาที่โดดเด่นจากทั่วโลก คุณอาจได้รับทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทแบบเต็มจำนวนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอะไรเลยก็ได้

ฉันสมัครได้ไหม?

·       สำหรับนักศึกษาที่สนใจสมัครรับทุนหลักสูตรร่วมอีราสมุส มุนดุส ระดับปริญญาโท (EMJM) จะต้อง

  • มีสัญชาติไทยหรือถือสัญชาติของประเทศนอกสหภาพยุโรป
  • ไม่ได้พำนักอยู่ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
  • จบปริญญาตรี หรือ กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีปีสุดท้าย โดยจะต้องสำเร็จการศึกษาแล้วอย่างสมบูรณ์ก่อนที่จะเริ่มต้นเรียนต่อในหลักสูตรระดับปริญญาโท
  • ไม่ได้กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสถาบันใด ทั้งในและนอกสหภาพยุโรป

·       สำหรับนักวิชาการหรืออาจารย์ที่สนใจร่วมสอนหรือทำวิจัยในหลักสูตรร่วมอีราสมุส มุนดุส ระดับปริญญาโท (EMJM) จะต้อง

  • นักวิชาการชาวไทยหรือถือสัญชาติของประเทศนอกสหภาพยุโรป ที่สังกัดอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาใดก็ได้ หรือสังกัดอยู่สถาบันอุดมศึกษาในประเทศยุโรปที่เป็นผู้ดำเนินการหลักสูตรร่วมอีราสมุส มุนดุส ระดับปริญญาโท
  • ไม่ได้พำนักอยู่ในประเทศสหภาพยุโรป
  • มีประสบการณ์ที่โดดเด่นทางวิชาการหรือในสาขาที่ต้องการทำวิจัย

ปริญญาที่จะได้รับ

  • เมื่อจบการศึกษา นักเรียนทุนจะได้รับ
    • ปริญญาบัตรร่วม (Joint Degree) เป็นใบประกาศนียบัตรที่ออกให้ในนามของสถาบันการศึกษาอย่างน้อยสองแห่ง หรือ
    • ปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยที่ไปเรียนทั้งหมด (Double or Multiple Degrees) เป็นใบประกาศนียบัตรที่รับรองว่าจบการศึกษาที่ออกให้โดยสถาบันการศึกษาอย่างน้อยสองแห่ง
  • แต่ละหลักสูตรใช้เวลาเรียนประมาณหนึ่งปี ถึง สองปีการศึกษา
  • หลักสูตรร่วมอีราสมุส มุนดุส ระดับปริญญาโทนี้ครอบคลุมหลักสูตรในหลากหลายสาขา เช่น เกษตรศาสตร์ อาหาร วนศาสตร์ ปัญญาประดิษฐ์ ศิลปะ ธุรกิจและการจัดการ เคมี เศรษฐศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรณี ประวัติศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ  กฎหมาย วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วรรณคดี นาโนศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และอื่น

ทุนนี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ทุนนี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการศึกษาในระดับปริญญาโท  ทั้งค่าเล่าเรียน ค่าเดินทาง เงินทุนตั้งต้น ค่าใช้จ่ายรายเดือนตลอดระยะเวลาที่กำลังศึกษาอยู่ ค่าประกัน และรายจ่ายที่จำเป็นอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าศึกษาในโครงการ EMJM รวมทั้งหมดแล้วเป็นเงินทุนทั้งสิ้นประมาณ  24,000 ยูโร (หรือประมาณ 915,000 บาท) ต่อนักศึกษาหนึ่งคนที่เข้าเรียนในหลักสูตรหนึ่งปี และ 48,000 ยูโร (หรือประมาณ 1,830,000 บาท) ต่อนักศึกษาหนึ่งคนที่เข้าเรียนในหลักสูตรสองปี

นอกจากนี้แล้วนักศึกษายังสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ EMJM โดยใช้ทุนของตัวเองก็ได้ด้วยเช่นกัน

สมัครได้เมื่อไหร่

ผู้สนใจสามารถสมัครขอรับทุนได้โดยตรงกับกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เปิดหลักสูตรร่วม โดยช่วงเวลารับสมัครจะอยู่ระหว่างเดือนกันยายน  - มกราคม ของทุกปี โดยแต่ละหลักสูตรจะเป็นผู้กำหนดวันปิดรับสมัครและเงื่อนไขต่างๆ เอง

หลักสูตรปริญญาโทภายใต้ทุนอีราสมุสของเรามีตัวเลือกมากมายกว่าร้อยหลักสูตรเลยทีเดียว
สามารถเข้าดูรายชื่อหลักสูตรที่น่าสนใจทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์
https://www.eacea.ec.europa.eu/scholarships/erasmus-mundus-catalogue_en

2. Erasmus+ mobility for higher education students and staff: ทุนแลกเปลี่ยนระยะสั้นหนึ่งปีหรือหนึ่งภาคการศึกษา สำหรับนักศึกษา นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย

ตั้งแต่ปี .. 2558 เป็นต้นมา สถาบันอุดมศึกษาของไทยได้จัดทำข้อตกลงเพื่อแลกเปลี่ยนนักศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาในสหภาพยุโรป โดยที่สถาบันการศึกษาในยุโรปได้เข้าร่วมเป็นทวิภาคีกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย ผู้สมัครสามารถส่งใบสมัครเพื่อขอรับทุนแลกเปลี่ยนนี้ผ่านมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่เป็นภาคีกันได้

หากมหาวิทยาลัยของคุณมีข้อตกลงดังกล่าวอยู่แล้ว คุณสามารถสมัครขอรับทุนแลกเปลี่ยนระยะสั้นแบบนับหน่วยกิต (3-12 เดือน) เพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในยุโรปได้ โดยกิจกรรมทางวิชาการในระหว่างที่คุณรับทุนแลกเปลี่ยนในมหาวิทยาลัยยุโรปจะนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่ประเทศไทยด้วย โดยทุนแลกเปลี่ยนระยะสั้นนี้สามารถขอได้ในทุกระดับชั้น ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก

ทุนแลกเปลี่ยนสำหรับนักศึกษา

ทุนแลกเปลี่ยนสำหรับนักศึกษานี้ครอบคลุมในหลากหลายสาขาวิชาและระดับชั้น (แลกเปลี่ยนระยะสั้น ระดับปริญญาตรี โท หรือ เอก) และเพื่อให้ผู้รับทุนได้รับประโยชน์สูงสุด กิจกรรมวิชาการในช่วงระหว่างการแลกเปลี่ยนนี้ควรจะต้องสอดคล้องไปกับสาขาวิชาที่เรียนอยู่ และต่อยอดให้กับจุดประสงค์ในการพัฒนาตนเองของผู้เรียนด้วย

ทุนแลกเปลี่ยนสำหรับนักศึกษาปริญญาเอก

ทุนแลกเปลี่ยนสำหรับนักศึกษาปริญญาเอกและผู้ที่จบปริญญาเอกแล้ว (‘post-docs’) เปิดโอกาสให้นักวิชาการกลุ่มนี้ได้เดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ สำหรับทุนนี้เราสนับสนุนให้ทำกิจกรรมทางวิชาการแบบผสมได้ทั้งในรูปแบบไปเรียนยังสถานที่จริง หรือผ่านการทำกิจกรรมวิชาการทางออนไลน์

ทุนแลกเปลี่ยนรูปแบบผสม

ทุนอีราสมุสพลัส เสนอทางเลือกการทำกิจกรรมวิชาการในระหว่างที่รับทุนแลกเปลี่ยนได้ทั้งในรูปแบบไปเรียนยังสถานที่จริงหรือผ่านการทำกิจกรรมวิชาการออนไลน์ รูปแบบที่ผสมนี้ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนและการทำงานเป็นทีมในกลุ่มผู้เรียนที่มาจากหลากหลายประเทศและหลากหลายสาขา การจัดกิจกรรมทางวิชาการออนไลน์นี้ประกอบไปด้วยการเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมายทางออนไลน์ โดยกิจกรรมทั้งหมดจะนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนด้วย

ทุนแลกเปลี่ยนสำหรับบุคลากร

ถ้าคุณเป็นบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาที่กำลังมองหาโอกาสในการเพิ่มพูนประสบการณ์ในต่างประเทศแล้วล่ะก็ ทุนแลกเปลี่ยนสำหรับบุคลากรคือคำตอบ โดยทุนนี้เปิดกว้างสำหรับบุคลากรทั้งในและนอกสถาบันอุดมศึกษาที่ถูกรับเชิญ เพื่อไปแลกเปลี่ยนในด้านการสอนและการฝึกอบรมที่สถาบันการศึกษาหรือสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญของคุณ

ฉันสมัครได้ไหมนะ?

หากมหาวิทยาลัยที่คุณกำลังศึกษาอยู่ มีข้อตกลงร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของยุโรป ทั้งนักศึกษา นักวิชาการ และบุคลากรสามารถสมัครทุนนี้ได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุนประเภทต่าง ให้ติดต่อสอบถามโดยตรงได้ที่ฝ่ายการต่างประเทศหรือฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาหรือทำงานอยู่

ทุนนี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ทุนนี้จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายรายเดือนในระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศ โดยจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 750 - 850 ยูโร (ประมาณ 28,850 – 32,500 บาท) ขึ้นอยู่กับค่าครองชีพของประเทศที่เดินทางไปศึกษา นอกจากนี้ยังมีค่าเดินทาง โดยคำนวณระยะทางจากสถาบันการศึกษาต้นทางไปยังสถาบันที่รับเข้าเรียนในยุโรป

สมัครได้เมื่อไหร่

สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ฝ่ายการต่างประเทศ หรือฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ที่มหาวิทยาลัยที่คุณศึกษาอยู่

ข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อมูลเกี่ยวกับ Erasmus+

เว็บไซต์ https://erasmus-plus.ec.europa.eu/

การศึกษาในยุโรป

เว็บไซต์ https://education.ec.europa.eu/study-in-europe

ทุนศึกษาต่อในยุโรป

เว็บไซต์ https://education.ec.europa.eu/study-in-europe/planning-your-studies/scholarships-and-funding

Facebook

@EUinThailand and @EUErasmusPlusProgramme

แผ่นพับ

 

การศึกษา

โครงการเกี่ยวกับการศึกษาอื่น ๆ ของสหภาพยุโรป

The Marie Skłodowska-Curie actions ให้การสนับสนุนนักวิจัยทั่วโลก นักวิจัยจากทุกสายอาชีพสามารถรับเงินทุนสนับสนุนนี้ได้ MSCA ยังส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษาโดยทำให้ผู้ได้รับทุนได้เพิ่มทักษะในการทำงานและช่วยเพิ่มการเติมโตในหน้าที่การงาน ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://marie-sklodowska-curie-actions.ec.europa.eu/about-marie-sklodowska-curie-actions

Jean Monnet Module คือโปรแกรมการสอนระยะสั้นในด้านยุโรปศึกษาที่สถาบันการศึกษาขั้นสูง โดยระยะเวลาของโครการคือ 3 ปีและต้องมีชั่วโมงสอนขั้นต่ำ 40 ชั่วโมงต่อ 1 ปีการศึกษา

Jean Monnet Chair เป็นตำแหน่งของอาจารย์ด้านยุโรปศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นเวลา 3 ปี ตำแหน่งนี้จะมอบให้อาจารย์เพียง 1 คนและอาจารย์คนนั้นจะต้องมีชั่วโมงการสอนอย่างน้อย 90 ชั่วโมงต่อ 1 ปีการศึกษา

Centre of Excellence คือศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป โปรแกรมมีระยะเวลา 3 ปี โดยจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการจากนักเรียนในสาขาวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรปโดยตรง

ข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ เกี่ยวกับอีราสมุสพลัส สามารถศึกษาได้ด้วยตนเองในเอกสารนี้ (Erasmus + Factsheet) https://op.europa.eu/en/publication-detail/-/publication/ff1edfdf-8bca-11eb-b85c-01aa75ed71a1/language-en

สถาบันภาษาและศูนย์วัฒนธรรมยุโรปในประเทศไทย

สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ

179 ถนน วิทยุ แขวง ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทร : +66 (02) 670 4200
อีเมล : [email protected]
เว็บไซต์: https://afthailande.org/en

ศูนย์วัฒนธรรมโปรตุเกส

26 ถนน เจริญกรุง ซอย 30 แขวง บางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทร: +66 (02) 234 2123
เว็บไซต์: https://www.instituto-camoes.pt/

ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

302 ถนน พญาไท แขวง วังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทร: +66 (02) 218 3909
เว็บไซต์: https://web.facebook.com/CESchula/

องค์การแลกเปลี่ยนวิชาการเยอรมัน (DAAD)

ซอยเกอเธ่ สาทร 1 18/1
10120 กรุงเทพฯ
โทร: +66 (2) 286 8708-09
แฟกซ์: +66 (2) 286 48 45
อีเมล: [email protected]
เว็บไซต์: https://www.daad.or.th/en/

สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย

ซอยเกอเธ่ สาทร 1 18/1
10120 กรุงเทพฯ
โทร: +66 (02) 108 8200
แฟกซ์: +66 (02) 108 8299
อีเมล: [email protected]
เว็บไซต์: https://www.goethe.de/